พบ “ไอน้ำ” ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
“ดาวฤกษ์” เป็นแหล่งแสงสว่างและพลังงานให้ดับดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในแต่ละระบบหรือกาแล็กซี ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของการกำเนิดชีวิต นั่นทำให้ในการตามหาดาวเคราะห์ที่เหมาะต่อการดำรงชีวิต (Habitable) นักวิทย์มักจะต้องมองหาดาวฤกษ์เป็นอันดับแรก
อย่างไรก็ดี ดาวฤกษ์ที่พบมากที่สุดในเอกภพคือดาวแคระแดง (Red Dwarf) ซึ่งมีมวลน้อยกว่าและเย็นกว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเราอย่างมาก ทำให้ดาวเคราะห์บริวารส่วนใหญ่มีวงโคจรที่แคบ เพื่อให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ
ดาวเคราะห์แดงยังปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีเอ็กซ์ที่สามารถทำลายชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ได้ เป็นผลให้เกิดคำถามหนึ่งที่นักดาราศาสตร์พยายามหาคำตอบคือ “ดาวเคราะห์สามารถรักษาหรือสร้างชั้นบรรยากาศในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเช่นนี้ได้หรือไม่”คำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด
เพื่อตอบคำถามนี้ นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ของนาซา เพื่อศึกษาดาวเคราะห์หิน (Rocky Planet) นอกระบบสุริยะดวงหนึ่ง ที่รู้จักกันในชื่อ “GJ 486 b” ซึ่งอยู่ห่างจากโลกราว 26 ล้านปีแสง
ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวนี้อยู่ใกล้ดาวฤกษ์เกินกว่าจะอาศัยได้ โดยมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 430 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตโดยใช้กล้องอินฟาเรดระยะใกล้ (NIRSpec) ของเจมส์ เว็บบ์ กลับพบร่องรอยของ “ไอน้ำ”
การพบไอน้ำบนดาวเคราะห์เป็นข้อบ่งชี้ว่า ดาวเคราะห์นั้นมีชั้นบรรยากาศ แม้ว่าอุณหภูมิจะร้อนจัดและอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากก็ตาม มีการพบเห็นไอน้ำบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะมาก่อน แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เคยมีการตรวจพบชั้นบรรยากาศรอบดาวเคราะห์นอกระบบที่เป็นหินมาก่อน นี่นับเป็นครั้งแรก
อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่า ไอน้ำที่พบเกิดจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ หรือเกิดจากจุดที่มีอากาศเย็นบนดาวฤกษ์ (Cool Starspot)
ซาราห์ โมราน จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ผู้นำทีมวิจัยการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า “เราเห็นสัญญาณ และเกือบจะแน่นอนว่าเป็นเพราะน้ำ แต่เรายังไม่สามารถบอกได้ว่าน้ำนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์หรือไม่ หมายความว่าดาวเคราะห์มีชั้นบรรยากาศ หรือเราเพียงแค่เห็นร่องรอยของน้ำที่มาจากดาวฤกษ์”
ด้าน เควิน สตีเวนสัน จากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ นักวิจัยหลักของทีม บอกว่า “การพบไอน้ำในชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์หินจะแสดงถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญสำหรับวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบ แต่เราต้องระวังและตรวจสอบให้แน่ใจ”
GJ 486 b มีขนาดใหญ่กว่าโลกประมาณ 30% และมีมวลมากกว่า 3 เท่า ซึ่งหมายความว่า มันเป็นดาวเคราะห์หินที่มีแรงโน้มถ่วงมากกว่าโลก มันโคจรรอบดาวแคระแดงโดยใช้เวลาน้อยกว่า 1.5 วันบนโลก ซึ่งคาดว่าจะทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่มีเวลากลางวันถาวรในด้านหนึ่งและกลางคืนถาวรในอีกด้านหนึ่ง
เรียบเรียงจาก NASA
ภาพจาก NASA