ชวนมารู้จัก “อาหาร” เฉลิมฉลองตรุษจีน เริ่มต้นปีใหม่จากทั่วโลก
ยูเอ็นรับรอง “เทศกาลตรุษจีน” เป็นวันหยุดแบบไม่กำหนดวัน
“สารทจีน-เช็งเม้ง-ตรุษจีน” ต่างกันอย่างไร ทั้งที่ไหว้เจ้า-บรรพบุรุษเหมือนกัน
“วันตรุษจีน” เป็นหนึ่งในเทศกาลที่มีการเฉลิมฉลองมากที่สุดในโลก โดยถือเป็นช่วงเวลาแห่งการยกย่องบรรพบุรุษและการกลับมาอยู่กับครอบครัวแบบพร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้ง
ลูกหลานชาวจีนมีให้เราพบเห็นอยู่แทบทั่วทุกมุมโลก ในปีนี้เชื่อว่าจะมีผู้คนหลายร้อยล้านคนจะมารวมตัวเพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีมังกรไปด้วยกัน ถึงแม้ว่าวัฒนธรรมของพวกเขาจะถูกผสมผสานบางอย่างไปบ้าง ทำให้การเฉลิมฉลองของพวกเขาแตกต่างกัน แต่พวกเขาจะไม่ลืมที่จะมารวมตัวกันเพื่อนับถอยหลังการก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่เมื่อมีโอกาส
การทำอาหารมักถูกเชื่อมโยงกับอุดมคติของความเจริญรุ่งเรืองและโชคลาภ การกินอาหารในช่วงเทศกาลจึงมีสำคัญ เพราะการได้เริ่มต้นปีด้วยอาหารที่มีความมงคล เชื่อกันว่าจะนำพาสิ่งที่ดีๆ เข้ามาหาเราได้ตลอดทั้งปี ทางพีพีทีวีจึงได้รวบรวมข้อมูลจาก Tatler ถึงอาหารเฉลิมฉลองตรุษจีนจากทั่วทุกมุมโลกมาให้ทุกคนได้รู้จักกันคำพูดจาก สล็อตวอเลท
เวียดนาม : แบ๊งห์จึง
แบ๊งห์จึง(Banh Chung) หรือข้าวต้นมัดญวณ คล้ายข้าวต้มมัดบ้านเรา แต่ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งที่ยัดไส้ด้วยถั่วเขียวและหมูสับปรุงรสด้วยพริกไทยดำ น้ำปลา และต้นหอม บางครั้งจะห่อด้วยใบลาดองและปั้นเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสที่แทบจะไร้ตำหนิ อาหารชนิดนี้นิยมรับประทานในวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติของเวียดนาม (ตรุษเวียดนาม) เพราะเป็นสัญลักษณ์ของความกตัญญูของลูกหลายต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษ นอกจากนี้การห่อแบงห์จึง ยังเป็นโอกาสสร้างความอบอุ่นระหว่างสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างก็คิดถึงเมื่ออยู่ไกลบ้านกัน
จีน : ขนมเข่ง
"ขนมเข่ง" หรือที่ในภาษาจีนเรียกว่า “เหนียนเกา” เป็นขนมที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว ผสมกับน้ำตาลทรายแดง และน้ำ กวนให้เข้ากันจนมีความเหนียวนุ่ม ขนมชนิดนี้แม้ว่าจะมีการรับประทานกันในหลายพื้นที่ของเอเชีย แต่แป้งข้าวเหนียวนี้มักเสิร์ฟในประเทศจีนในช่วงต้นปีเพราะคำว่า "เหนียนเกา" ออกเสียงเหมือนคำว่า "ปีที่สูงขึ้น" จึงเป็นสิ่งที่สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองและการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
มาเลเซียและสิงคโปร์ : บักควา
“หมูแผ่นหวาน” หรือที่ในมาเลเซียและสิงคโปร์เรียกว่า “บักกวา” เป็นหมูแผ่นอบแห้งที่ปรุงรสผสมผสานความหวานและเค็มเข้าด้วยกันอย่ากลมกล่อม โดยมีต้นกำเนิดมาจากเทคนิคการบ่มแบบจีนโบราณ เพื่อเก็บรักษาเนื้อสัตว์ไว้ในช่วงเทศกาล
นับตั้งแต่ผู้อพยพชาวจีนเข้ามาในภูมิภาคมาเลเซียและสิงคโปร์ พวกเขาต่างทำกินกันจนได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ ซึ่งหากที่ไหนไม่มี จะรู้สึกเหมือนว่านี่ไม่ใช่การเริ่มต้นปีใหม่ที่สมบูรณ์
ไต้หวัน : หม้อไฟ
การรวมตัวกัน เป็นหัวใจสำคัญของการเฉลิมฉลองในวันเริ่มต้นปีใหม่ และอาหารที่เป็นหัวใจสำคัญของการกลับมาพบกันใหม่คือหม้อไฟ
หม้อไฟเป็นสัญลักษณ์ของอุดมคตินี้ในไต้หวัน เพราะเป็นอาหารที่ครอบครัวและคนที่คุณรักจะได้มานั่งรับประทานน้ำซุปร้อนๆ ร่วมกันและในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นจะมีการเสิร์ฟส่วนผสมมากมายเพื่อต้อนรับความอุดมสมบูรณ์ในปีหน้า
ฮ่องกง : ผู่นชอย
“ผู่นชอย” เป็นหม้อตุ๋นสไตล์กวางตุ้งแบบดั้งเดิมที่เต็มไปด้วยส่วนผสมนานาชนิด ซึ่งความหลากหลายสื่อถึงความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรืองนี่จึงเป็นเหตุผลที่ชาวฮ่องกงนิยมรับประทานในช่วงเริ่มต้นปี
สำหรับเมนูนี้มีอยู่ในฮ่องกงมานานกว่าเจ็ดศตวรรษ โดยส่วนผสมแต่ละอย่างในผู่นชอยจะมีกระเพาะปลา เป็ด และหัวไชเท้าเป็นส่วนผสมหลักมากกว่านั้นเมนูนี้ยังมีประวัติศาสตร์อันยาวนานซึ่งมีรากฐานมาจากการยกย่องบรรพบุรุษ ชุมชน และการเริ่มต้นใหม่จึงทำให้เป็นอาหารฉลองตรุษจีนประจำฮ่องกงนั่นเอง
ประเทศไทย : ขนมเปี๊ยะ
ขนมที่ทำจากแป้งสาลี มักสอดไส้ไข่แดงเค็มและถั่วหวาน ถือเป็นขนมที่ชาวไทยนิยมกินกันช่วงตรุษจีน โดยด้านนอกของขนมห่อหุ้มแกนคล้ายฟัดจ์ ตรงกลางมักมีตราประทับสีแดงสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองและในบางครั้งขนมเปี๊ยะก็ถูกอบด้วยควันเทียน ทำให้ยิ่งหอม อร่อย และด้วยรสชาติที่โดดเด่นประกอบกับมีสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง จึงไม่แปลกเลยที่ลูกหลานชาวจีนในประเทศไทยจะนิยมหาซื้อมารับประทานช่วงตรุษจีน
อินโดนีเซีย : คัพเค้กอินโดนีเซีย
“Kue Mangkok” คัพเค้กนึ่งสูตรดั้งเดิมของชาวอินโดนีเซียที่ผสมแป้งข้าว กะทิ น้ำตาลมะพร้าว และมันสำปะหลัง เข้าด้วยกัน เป็นขนมที่ดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมจีนใต้ ซึ่งจะย้อมสีแดงตามฤดูกาล สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองและการกลับมารวมตัวกันของครอบครัว
ขอบคุณข้อมูลจาก : Tatler
“ตรุษจีน 2567” วันจ่าย-วันไหว้-วันเที่ยว ตรงกับวันไหน ทำไมแต่ละปีไม่ตรงกัน
เปิดเงื่อนไข กาตาร์ พบ จีน ส่งผลต่อทีมไทย ลุ้นเข้ารอบ 16 ทีมเอเชียน คัพ 2023
ผลบอลเอเชียน คัพ 2023 ทาจิกิสถาน ตาม กาตาร์ เข้ารอบ 16 ทีม
กรมการจัดหางาน รับสาวไทยทำงานที่ญี่ปุ่น สมัครฟรี! ถึง 26 ม.ค. นี้